ปวดฟัน เสียวฟัน อาจบ่งบอกว่ารากฟันกำลังมีปัญหา มารู้จักวิธีการรักษารากฟัน

Share Post:

รักษารากฟัน

อาการปวดฟัน หรือเสียวฟันอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพช่องปาก บางท่านอาการเหล่านี้อาจจะไม่รุนแรงมาก แต่ในบางท่านที่มีอาการปวดฟัน หรือเสียวฟันรุนแรงมากจนมีผลกระทบกับการเคี้ยวอาหาร สบฟันไม่ได้ หรือมีอาการปวดมากจนนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับรากฟัน และควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษารากฟันโดยด่วน

ส่วนประกอบของฟัน

  1. เคลือบฟัน เป็นผิวฟันชั้นนอก เป็นชั้นที่แข็งที่สุด
  2. เนื้อฟัน เป็นส่วนของฟันชั้นถัดมาจากเคลือบฟัน มีรูของทอดเนื้อฟันขนาดเล็กจำนวนมาก เชื่อมต่อเคลือบฟันและโพรงประสาทฟัน
  3. โพรงประสาทฟัน เป็นช่องว่างที่มีเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ประกอบด้วยเส้นประสาท เส้นโลหิต ระบบน้ำเหลือง เนื้อเยื่อยึดต่อโดยติดต่อภายนอกตัวฟันทางรูเปิดเล็ก ๆ ที่ปลายรากฟัน

สาเหตุของการเกิดปัญหารากฟัน

  • ฟันผุที่ลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน
  • มีปัญหาโรคเหงือก
  • ตัวฟันร้าวจากการใช้งาน
  • ฟันแตกจากอุบัติเหตุ
  • โรครำมะนาดขั้นรุนแรง (โรคเหงือกร่อน)
  • นอนกัดฟันรุนแรง
  • มีพฤติกรรมเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง

ใครที่ควรทำการรักษารากฟัน

ฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน มักมีอาการปวดฟันขึ้นมาเอง อาจปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการเสียวฟันมากเวลาดื่มของร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บฟันเวลาเคี้ยวอาหาร บางครั้งอาจพบว่าฟันเปลี่ยนสี มีสีคล้ำ มีตุ่มหนอง หรือมีอาการเหงือกบวม และบวมบริเวณใบหน้า

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟัน คือ ขบวนการกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่ติดเชื้อที่อยู่ใจกลางฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากโพรงประสาทฟันบางส่วนถูกทำลายจะต้องทำการเอาออกเพื่อรักษาและทำความสะอาดส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟัน เพื่อคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟันเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกไป ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน แบบครั้งเดียวเสร็จ

1. ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกโดยการกรอฟัน

2. ทำความสะอาดรากฟัน และอุดคลองรากฟัน

3. หากมีการอักเสบเป็นหนองที่ปลายรากฟัน ทันตแพทย์จะทำการเปิดควักหนองที่ปลายรากฟันออก

4. ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราวเพื่อรอการบูรณะตัวฟันต่อไป

การดูแลรักษาหลังทำการรักษารากฟัน

1. หลังการรักษารากฟันเสร็จ ควรบูระฟัน ด้วยการใส่เดือยฟันและทำครอบฟัน

2. สามารถใช้งาน และดูแลรักษาได้เหมือนฟันปกติ โดยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และหลีกเลี่ยงการกัดของแข็ง

3. หมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ฟันที่ทำการรักษารากฟันจะอยู่ได้นานเท่าใด

ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันและบูรณะตัวฟันเสร็จแล้ว จะสามารถอยู่กับเราได้นานเท่ากับฟันที่ปกติ ขึ้นอยู่กับ สภาพฟันก่อนการรักษา เช่น รอยร้าว หรือ ความหนาของเนื้อฟันที่เหลืออยู่ และการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากของแต่ละคน

ฟันที่รักษารากฟันไปแล้วจะกลับมาปวดได้อีกหรือไม่

ถ้าสามารถกำจัดสาเหตุและเชื้อโรคได้หมด และการบูรณะฟันทำได้ดีไม่รั่วซึม ร่วมกับการดูแลทำความสะอาดฟันที่ดีไม่มีการผุเพิ่มเติม ฟันก็จะไม่มีอาการปวดกลับมาอีก ถือว่าการรักษารากฟันไปได้ด้วยดี หากฟันกลับมามีอาการปวดทุกครั้งที่กัด หรือฟันโยก ร่วมกับมีตุ่มหนองที่เหงือก แสดงว่ารากฟันแตก ซึ่งในกรณีนี้ฟันซี่นั้นต้องได้รับการถอนฟัน

หากคุณกำลังมีปัญหาปวดฟัน เสียวฟันรุนแรง หรือมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพราะอาการเหล่านั้นเป็นสัญญาณว่าฟันของคุณกำลังมีปัญหา และเนื่องจากฟันแท้ของเรามีเพียงชุดเดียว และการรักษารากฟันเอาไว้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าหากการรักษารากฟันสามารถทำได้ ที่ Dental Life Clinic ยินดีพร้อมให้คำปรึกษาคุณค่ะ

ติดต่อสอบถาม นัดหมาย (ฟรี)

เด็นทัลไลฟ์ คลินิก

410 /118 ซอยรัชดาภิเษก 22 ถนนรัชดาภิเษก

แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-938-9178, 083-070-5955

Line : dentallifeclinic22

Stay Connected

More Updates