ฟันห่างคืออะไร?
ฟันห่าง คือ ลักษณะของฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันที่เห็นได้ชัด ซึ่งฟันห่างสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นเรื่องของความผิดปกติในช่องปาก หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น
- พฤติกรรมการกลืนที่ผิดปกติ
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ โดยเวลาทานอาหาร จะกลืนอาหารโดยการเอาลิ้นไปดันฟันหน้า แทนที่จะเอาลิ้นดันเพดานปากไว้ จึงทำให้เกิดแรงกดต่อฟันหน้ามากเกินไป และเมื่อทำซ้ำบ่อยครั้งก็จะเกิดเป็นฟันห่างได้ในที่สุด
- พฤติกรรมการใช้ไม้จิ้มฟัน
เป็นธรรมชาติของคนเมื่อทานอาหารเสร็จแล้วมีเศษอาหารติดฟัน ก็จำเป็นจะต้องใช้ไม้จิ้มฟันแคะเศษอาหารที่ติดอยู่ระหว่างฟันออก แต่ถ้าหากใช้ผิดวิธีและบ่อยเกิดไป จะทำให้ฟันห่างได้
- ขากรรไกรและฟันมีขนาดไม่สมดุลกัน
การที่ฟันมีขนาดเล็กกว่าขากรรไกร หรือมีขากรรไกรที่ใหญ่เกินไป จะส่งผลให้ฟันเรียงตัวห่างจากกันเพื่อเติมเต็มพื้นที่ขากรรไกร จึงทำให้ฟันห่างได้ โดยสาเหตุนี้ สามารถส่งผลจากพันธุกรรมได้เช่นกัน
- เคยผ่านการถอนฟันหรือมีอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียฟันมาก่อน
การถอนฟันหรือการสูญเสียฟันจากอุบัติเหตุก็สามารถทำให้ฟันห่างได้เช่นกัน เพราะการที่มีฟันไม่ครบทุกซี่ และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนช่องว่างนั้นจะทำให้ฟันล้มหรือเกิดช่องว่างระหว่างฟันมากขึ้น และอาจเกิดขึ้นได้หลายจุด
- โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้กับหลายเรื่องในช่องปาก และเรื่องฟันห่างเองก็เช่นกัน เพราะเมื่อเหงือกที่เป็นที่รองรับฟันเกิดอาการอักเสบ จะทำให้ฟันโยกและเกิดเป็นฟันห่างได้
ฟันห่างสามารถรักษาได้ ด้วยการอุดฟัน
ความจริงแล้ว หากสาเหตุของการฟันห่างไม่ได้มาจากโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ที่ร้ายแรง และไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตมาก ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีความกังวล เพราะอย่างไรก็ตามรอยยิ้มและฟันก็เป็นหนึ่งในเรื่องความมั่นใจและบุคคลิกภาพ หากต้องการรักษาก็ไม่ใช่เรื่องยาก โดยวิธีการที่แนะนำคือ การอุดฟัน
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันเพื่อรักษาฟันห่าง คือ วัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ โดยการอุดวัสดุเข้าไปแทนที่ช่องว่างของฟัน อุดเติมขนาดของฟันแต่ละซี่ให้ใหญ่ขึ้นจนชิดกัน วิธีอุดฟันแบบนี้จะไม่ทำให้เสียเนื้อฟัน เพราะไม่ต้องกรอฟัน โดยจะช่วยเสริมความมั่นใจของคนไข้ได้มากขึ้น และมีอายุการใช้งานยาวนานได้ถึง 10 ปีหากดูแลรักษาดี ๆ การอุดฟันจะใช้เวลาในการรักษาเพียงจุดละ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของรูปฟัน
ดูแลตัวเองอย่างไรหลังอุดฟัน
- ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการอุดฟัน ควรงดการใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารที่แข็ง หรือเหนียวมากเกินไป
- ทำความสะอาดฟันอย่างละเอียด ตั้งแต่การแปรงฟันอย่างถูกวิธี บ้วนปาก และการใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขัดเศษอาหารไม่ให้หมักหมมจนวัสดุที่อุดฟันเปลี่ยนสีไว
- ในกรณีที่รับประทานอาหารแล้วติดซอกฟัน งดใช้ไม้จิ้มฟัน แต่ใช้ไหมขัดฟันแทน
ข้อควรระวังในการอุดฟัน
สำหรับวิธีการอุดฟันเพื่อรักษาฟันห่าง มีข้อควรระวังอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มการรักษา เพราะลักษณะของฟันห่างมีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกันออกไป หากเลือกที่จะอุดฟันเพื่อการรักษาโดยที่ไม่ใช่วิธีการที่ตอบโจทย์ อาจทำให้รูปร่างของฟันดูกว้างกว่าความเป็นจริง ไม่ได้สัดส่วนไม่สวยงาม และอาจทำให้เกิดเหงือกอักเสบใต้บริเวณที่อุดฟันได้ หากขาดการดูแลรักษาในอนาคต
ติดต่อสอบถาม นัดหมาย (ฟรี)
410 /118 ซอยรัชดาภิเษก 22 ถนนรัชดาภิเษก
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร : 02-938-9178, 083-070-5955
Line : dentallifeclinic22