Dental Life ไขข้อสงสัย การ “อุดฟัน” มีกี่ประเภท?

Share Post:

อุดฟัน

การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมสำหรับคนไข้ที่มีฟันผุ ฟันสึก หรือฟันบิ่นจากอุบัติเหตุ รวมถึงฟันที่เคยอุดมานานแล้ว หมดอายุการใช้งาน หรือวัสดุอุดหลุดไป โดยทันตแพทย์จะทำการซ่อมแซมบริเวณนั้นด้วยวัสดุอุดฟันต่าง ๆ เช่น วัสดุ อมัลกัม และวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เพื่อให้ฟันซี่นั้นสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติและมีรูปทรงคล้ายเดิมที่สุด

การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบ

แบบที่ 1 อุดฟันด้วยอมัลกัม (Amalgam) คือ วัสดุอุดฟันสีโลหะ สมัยก่อนมักใช้ในการอุดฟันซี่หลัง ๆ เช่น ฟันกราม เเละฟันกรามน้อย เพราะ มีความเเข็งเเรง ทนทานต่อเเรงบดเคี้ยวได้ดี เเต่เนื่องจากอมัลกัมมีสีที่ไม่สวย เห็นได้ชัด เเละต้องกรอแต่งฟันมากกว่าขนาดของรอยผุ เพื่อไม่ให้วัสดุหลุดออกมา ภายหลังจึงมีการพัฒนาวัสดุอุดฟัน เรชินคอมโพสิต สีเหมือนฟัน มีสีสวยงาม มีความเเข็งเเรงมากขึ้น และยังใช้อุดฟันหลังได้ด้วย

แบบที่ 2 การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต เป็นวัสดุที่มีสีเหมือนสีฟัน เหมาะกับคนไข้ที่มีฟันผุ บริเวณฟันหน้า แต่วัสดุชนิดนี้ไม่คงทนเท่าวัสดุอุดอมัลกัม อายุการใช้งานประมาณ 10 ปี รับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่าวัสดุอมัลกัม นอกจากนี้ยังติดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่ได้ วัสดุสีคล้ายฟันเป็นวัสดุอุดสังเคราะห์ที่มีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ จึงมักใช้ในบริเวณที่ต้องการความสวยงาม เช่น ฟันหน้า หรือบริเวณฟันที่ยิ้มแล้วเห็น

ขั้นตอนในการอุดฟัน

  • ในกรณีที่ฟันผุลึกมาก หรือคนไข้กลัวมาก คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่ให้ เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่รู้สึกเจ็บ หรือเสียวฟันขณะทำการอุดฟัน ซึ่งยาชาจะออกฤทธิ์ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าในกรณีที่ฟันผุเพียงเล็กน้อยก็ไม่ต้องฉีดยาชาครับ (ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ)
  • ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่ผุและเนื้อฟันที่มีการติดเชื้อออกไป โดยใช้เครื่องมือกรอฟันทิ้งไป
  • ทันตแพทย์จะปรับแต่งหลุมบนฟันเพื่อเตรียมการอุดในลักษณะของฟันผุที่แตกต่างกัน
  • กรณีอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุเรซิน สลับกับการฉายแสง LED ให้วัสดุแข็งตัวเป็นชั้น ๆ และปรับแต่งวัสดุจนได้ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมสวยงาม
  • กรณีที่อุดฟันด้วยอมัลกัม ทันตแพทย์จะกดวัสดุใส่ในหลุมที่ได้เตรียมไว้จนแน่นพอดี แล้วปรับแต่งจนได้ขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมตามต้องการ
  • ขัดวัสดุให้เรียบ มีความเงางาม ดูเป็นเนื้อเดียวกันกับฟันตามธรรมชาติ

 

อุดฟัน เจ็บไหม?

ต้องบอกตามตรงว่ามีโอกาสเจ็บ หรือเสียวฟันได้ในขั้นตอนของการกรอฟัน เพราะถ้าฟันผุลึก ตำแหน่งที่ฟันผุอาจอยู่ใกล้โพรงประสาท แต่ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะคุณหมอมักให้ยาชาเฉพาะก่อนการกรอฟันเพื่อป้องกันความเจ็บปวด หรือการเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้น แต่สำหรับบางคนที่ฟันผุเพียงเล็กน้อยอาจไม่ต้องฉีดยาชาเลยก็ได้ครับ

การอุดฟันนั้น สามารถทำเสร็จภายในวันเดียว แต่สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนฟันที่ต้องเข้ารับการอุดหลาย ๆ ซี่ อาจทำได้โดยการทยอยเข้ารับการอุดฟัน

การดูแลหลังการอุดฟัน

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพราะการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
  • ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอนทุกวัน โดยกลั้วน้ำยาบ้วนปากและอมไว้ประมาณ 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังจากนั้น
  • ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและเข้ารับการขัดฟัน ขูดหินปูน เป็นประจำทุก 6 เดือน

ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที

แม้การอุดฟันจะเป็นวิธีการรักษาสำคัญที่ช่วยคงสภาพฟันให้ยังสามารถใช้งานอยู่ได้อีกนานเป็นสิบปี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นทำความสะอาดฟัน เหงือก และช่องปากให้สะอาดในทุก ๆ วันนะครับ

สำหรับใครที่อยากปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและช่องปาก สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Dental Life Clinic ได้ตลอดนะครับ เราพร้อมให้คำแนะนำ และให้การดูแลรักษาอย่างเต็มที่ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี พร้อมทั้งสุขภาพในช่องปากที่ดีครับ

 

โทร : 083-070-5955, 02-938-9178

Inbox : https://m.me/dentallifeclinic  

LINE : @dentallife หรือคลิก https://lin.ee/R5pISY5   

แผนที่ : https://goo.gl/maps/jkHoQaHvMVEtYx4i6

Stay Connected

More Updates