ฟันสบผิดปกติ สำคัญอย่างไรกับสุขภาพช่องปาก?

Share Post:

ฟันสบผิดปกติ สำคัญอย่างไรกับสุขภาพช่องปาก?

ฟันสบผิดปกติ สำคัญอย่างไรกับสุขภาพช่องปาก?

          ฟันที่หลายๆ คนใฝ่ฝันคือฟันที่สบกันปกติ โดยมีลักษณะฟันบนและฟันล่างสบกันได้อย่างสมดุล และฟันบนจะคร่อมฟันล่างเล็กน้อย และสังเกตได้ว่าฟันทุกซี่เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบเหมาะสม ทำให้ไม่มีปัญหาในการใช้ชีวิต การเคี้ยวอาหาร และดูแลฟันได้ง่าย

          ในทางตรงกันข้าม ฟันสบผิดปกติ คือฟันที่ลักษณะการสบฟันที่ไม่สมดุล อาจเกิดจากโครงสร้างกระดูกหรือการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ  หนึ่งในปัญหาทางช่องปาก ที่มองผิวเผิน อาจจะเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย แต่หากมองให้ลึกลงไป เราจะพบได้ว่าปัญหาเล็กๆ นี้ สามารถส่งผลต่อสุขภาพช่องปากได้มากมายในอนาคต หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ทั้งยังมีผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคมได้เช่นกัน 

          วันนี้ Dental Life จะพาไปเจาะลึกเกี่ยวกับฟันสบผิดปกติแต่ละประเภท ว่ามีสำคัญอย่างไรกับสุขภาพช่องปาก แล้วคุณเองมีปัญหาการสบฟันแบบใด ไปเช็กแต่ละประเภทเพื่อรักษาได้อย่างถูกวิธีได้เลย!

 

  1. ฟันสบลึก 

ลักษณะ: ฟันหน้าบนสบคลุมฟันหน้าล่างมากเกินไป หรืออาจปิดจนมองไม่เห็นฟันล่าง

ผลกระทบ:

  • มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของเหงือกด้านในบริเวณฟันล่างได้ง่าย
  • ฟันหน้าสึกหรอเร็วมากกว่าปกติ
  • ส่งผลกระทบต่อข้อต่อขากรรไกร เช่น ทำให้มีอาการปวดกรามได้

 

  1. ฟันสบเปิด

ลักษณะ: มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าบนและล่างเมื่อขบฟัน หรือฟันหลังไม่สบกัน

ผลกระทบ:

  • เคี้ยวอาหารลำบากกว่าปกติ 
  • ออกเสียงยาก โดยเฉพาะเสียง “ซ” หรือ “ส”
  • เสี่ยงต่อฟันเคลื่อน และฟันล้มได้ง่าย

 

  1. ฟันสบคร่อม 

ลักษณะ: ฟันล่างบางซี่หรือทั้งหมดสบอยู่นอกฟันบน

ผลกระทบ:

  • มีโอกาสฟันสึกหรอได้มากกว่าคนทั่วไป
  • อาจทำให้ใบหน้าหรือขากรรไกรไม่สมมาตร ทำให้ไม่มั่นใจได้
  • เคี้ยวอาหารลำบากมากกว่าปกติ

 

  1. ฟันสบย้อน 

ลักษณะ: ฟันล่างยื่นออกมาด้านหน้าฟันบน

ผลกระทบ:

  • มีปัญหาในการกัดอาหาร
  • เสี่ยงต่ออาการปวดข้อต่อขากรรไกร
  • ส่งผลต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์ใบหน้า

 

  1. ฟันสบห่าง 

ลักษณะ: มีช่องว่างระหว่างฟันซี่ต่าง ๆ

ผลกระทบ:

  • การมีช่องว่างที่อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปติดซอกฟันได้ง่าย
  • ส่งผลต่อการออกเสียงต่าง ๆ 
  • เคี้ยวอาหารลำบากกว่าปกติ

 

  1. ฟันซ้อนเก

ลักษณะ: ฟันเรียงตัวเบียดกันแน่นเกินไป ไม่มีที่เพียงพอในการเรียงตัวในกระดูกขากรรไกร

ผลกระทบ:

  • ทำความสะอาดได้ยาก ทำให้แบคทีเรียสะสมได้ง่าย
  •  เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย
  • เคี้ยวอาหารลำบากกว่าปกติ

 

วิธีรักษาฟันสบผิดปกติ

โดยปกติ ปัจจุบันการรักษาฟันสบผิดปกติ การมีหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับการประเมินจากรูปแบบการสบของฟันของคนไข้ ความรุนแรง และสาเหตุของปัญหา รวมถึงอายุ และความต้องการของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยม ได้แก่

 

  • การจัดฟัน (Orthodontics)

โดยปัจจุบันมีการจัดฟันหลายประเภทให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น  จัดฟันแบบโลหะ การจัดฟันแบบเซรามิก การจัดฟันใส การจัดฟันแบบด้านใน เหมาะสำหรับกรณีที่มีปัญหาการสบฟันผิดปกติ เช่น ฟันซ้อนเก ฟันสบเปิด ฟันสบลึก หรือฟันสบคร่อม

 

  • การทำศัลยกรรมขากรรไกร (ในกรณีที่ฟันสบกันรุนแรง)

การแก้ไขปัญหาการสบฟันผิดปกติ โดยการแก้ไขโครงสร้างขากรรไกรโดยการผ่าตัด เช่น การเลื่อนขากรรไกรบน-ล่างให้สมดุล  สามารถปรับโครงหน้าและการสบฟันได้อย่างถาวร เหมาะสำหรับกรณีที่ปัญหาเกิดจากโครงสร้างกระดูกขากรรไกร เช่น ฟันสบย้อน หรือฟันสบเปิดรุนแรง

 

  • การใช้รีเทนเนอร์

การแก้ไขปัญหาการสบฟันผิดปกติ โดยการใช้อุปกรณ์ถอดได้หรือแบบติดถาวร เพื่อปรับตำแหน่งของฟันเล็กน้อย หรือรักษาผลลัพธ์หลังจัดฟัน เหมาะสำหรับการรักษาในกรณีที่ฟันสบผิดปกติเล็กน้อย

 

          อย่างไรก็ตาม หากคุณมีปัญหาการสบฟันอย่างที่ได้กล่าวมา ควรพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมิน เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม และได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการมากที่สุด

          สำหรับใครที่อยากปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟันและช่องปาก สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ Dental Life Clinic ได้ตลอดนะครับ เราพร้อมให้คำแนะนำ และให้การดูแลรักษาอย่างเต็มที่ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี พร้อมทั้งสุขภาพในช่องปากที่ดีครับ 🩺🥰

 

ปรึกษาเราได้ฟรี!

083-070-5955, 02-938-9178

Inbox : https://m.me/dentallifeclinic

Line : @dentallife หรือคลิก https://lin.ee/R5pISY5

แผนที่ : https://goo.gl/maps/jkHoQaHvMVEtYx4i6

Stay Connected

More Updates